อารยธรรมไมนอส

ส่วนหนึ่งของพระราชวังที่คนอสซอสที่สร้างขึ้นให้เห็นภาพจากการขุดค้นของนักโบราณคดี

อารยธรรมไมนอส (อังกฤษ: Minoan civilization) เป็นวัฒนธรรมของยุคสำริดที่เกิดขึ้นในครีต อารยธรรมไมนวนรุ่งเรืองระหว่างราวศตวรรษที่ 27 จนถึงกลางศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นอารยธรรมไมซีนี (Mycenaean civilization) ก็เข้ามาแทนที่ อารยธรรมไมนอสพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษชื่อเซอร์อาร์เธอร์ อีแวนส์ ตามคำกล่าวของวิลล์ ดูรันต์วัฒนธรรมครีตไมนอสมีตำแหน่งในประวัติศาสตร์ว่าเป็น “สิ่งแรกที่เชื่อมวัฒนธรรมยุโรป”[1]

บทนำ

อักษร lineaire A

ไมนอส เป็นกษัตริย์ในตำนานของคนอสซอส เป็นลูกของพระเจ้าเซอุส และพระนางยุโรป มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์เป็นรูปวัว ตามตำนานเล่าว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่รักศิลปะ ในรัชสมัยของพระองค์มีศิลปินหลายคนที่สำคัญ คือ เดดาลผู้แต่งเรื่อง “ทางปริศนา” และเรื่อง “วัวสัมริด” อักษรที่ใช้จากที่พบในแผ่นดินเหนียว พบว่าเป็นตัวอักษรแบบที่ เรียกว่า lineaire A ประกอบด้วยอักษรประมาณ 90 ตัว ไม่ทราบที่มาเช่นเดียวกับตราดินเหนียวทรงกลมมีรูปและอักษรสลักอยู่  อารยธรรมไมนอสรุ่งเรืองที่สุดที่เมืองคนอสโซส (คนอสซอส) ผู้ครองเมืองดำรงฐานะเป็นพระกษัตริย์ มีการสร้าง พระราชวังแบบใหม่ ขนาดใหญ่และซับซ้อนคล้ายทางปริศนา ที่คนอสโซส ไฟสทอส และอักเฮียเทรียดามีระบบบริหารทางการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นแบบรวมอำนาจอยู่ที่ส่วนกลางคล้ายในอียิปต์ ฐานะของสตรีสำคัญมากในสังคม จนประมาณ 1600 ปีก่อนก่อนคริสต์ศักราช เกิดแผ่นดินไหวทำลายพระราชวังที่คนอสโซสลงถึง 2 ครั้ง และเมื่อ 1500 ปีก่อนก่อนคริสต์ศักราช พวกเอเชียนจากฝั่งทวีปเข้ามาตั้งรกรากบนเกาะครีต (เกิดราชวงศ์เอเจียน) โดยมีการนำเอาตัวอักษร lineaire B (อักษรกรีกในปัจจุบัน) เข้ามาใช้ด้วย

อักษร lineaire B

ชนของไมนวนจะเรียกตนเองว่าอย่างไรนั้นไม่เป็นที่ทราบ แต่คำว่า “Minoan” (ไมนวน) ที่ใช้เรียกชื่อวัฒนธรรมในยุคที่กล่าวเป็นคำที่คิดขึ้นโดยอีแวนส์ โดยแผลงมาจาก “Minos” (ไมนอส) ซึ่งเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์ในตำนานเทพเจ้ากรีก[2] ไมนอสเกี่ยวข้องกับตำนานวงกต (labyrinth) ที่อีแวนส์พบว่าเป็นที่ตั้งของคนอสซอส บางครั้งก็มีการโต้แย้งกันว่าคำว่าชื่อสถานที่ “Keftiu” ของอียิปต์โบราณ หรือ “Kaftor” ของภาษาเซมีติก หรือ “Kaptara” ของมารี ต่างก็หมายถึงเกาะครีต ใน “โอดิสซีย์” ที่ประพันธ์หลายร้อยปีหลังจากที่อารยธรรมไมนอสถูกทำลายไปแล้ว โฮเมอร์เรียกชนที่อาศัยอยู่บนเกาะว่า “อีทีโอเครทัน” (Eteocretan) หรือ “ครีตแท้” ที่อาจจะเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชนไมนอสก็เป็นได้

พระราชวังของไมนอสที่ได้รับการขุดพบเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญเพราะลักษณะการก่อสร้าง เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับการบริหารที่เห็นได้จากบันทึกเอกสารจำนวนมากที่พบโดยนักโบราณคดี พระราชวังแต่ละแห่งที่พบต่างก็มีลักษณะต่างกันออกไปที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์และมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างหลายชั้นโดยมีบันไดทั้งภายในและภายนอกอาคาร คอลัมน์ขนาดยักษ์ และลานภายในอาคาร

ลำดับเหตุการณ์และประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์กรีซ
Coat of Arms of Greece
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ
ประเทศกรีซ

กรีซยุคสำริด
อารยธรรมเฮลลาดิค
อารยธรรมซิคละดีส
อารยธรรมไมนอส
อารยธรรมไมซีนี
กรีซโบราณ
กรีซยุคมืด
กรีซยุคอาร์เคอิก
กรีซยุคคลาสสิก
กรีซยุคเฮลเลนิสติก
กรีซยุคโรมัน
กรีซยุคกลาง
กรีซยุคไบแซนไทน์
กรีซยุคฟรังโคคราเชีย
กรีซยุคออตโตมัน
กรีซยุคใหม่
สงครามประกาศเอกราชกรีซ
ราชอาณาจักรกรีซ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
คณะการปกครอง 4 สิงหาคม
กรีซยุคยึดครองโดยอักษะ
สงครามกลางเมืองกรีซ
กรีซยุคปกครองโดยทหาร ค.ศ. 1967-1974
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ
  • ศิลปะกรีก
  • รัฐธรรมนูญ
  • เศรษฐกิจ
  • การทหาร
  • ชื่อ

สถานีย่อยกรีซ

แทนที่จะพยายามจัดสมัยของไมนอสตามเวลาของปฏิทิน นักโบราณคดีใช้วิธีสองวิธีในการลำดับเวลาสัมพันธ์ (relative chronology) วิธีแรกคิดขึ้นโดยอีแวนส์และต่อมาประยุกต์โดยนักโบราณคดีคนอื่น ๆ ที่เป็นการลำดับเวลาโดยการศึกษาลักษณะของเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งทำให้แบ่งอารยธรรมไมนอสออกได้เป็นสามสมัย ไมนอสตอนต้น (Early Minoan (EM), ไมนอสตอนกลาง (Middle Minoan (MM) และ ไมนอสตอนปลาย (Late Minoan (LM) แต่ละช่วงเวลาก็แบ่งย่อยออกไปอีก เช่น ไมนอสตอนต้น 1, 2 และ 3 (EMI, EMII, EMIII) วิธีลำดับเวลาอีกวิธีหนึ่งเสนอโดยนักโบราณคดีชาวกรีกนิโคลัส พลาทอน (Nicolas Platon) ลำดับเวลาโดยการศึกษาการวิวัฒนาการของกลุ่มสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "ปราสาท" ที่คนอสซอส (Knossos), ไฟสทอส (Phaistos), มาลิอา (Malia), คาโทซาครอส (Kato Zakros) ที่แบ่งสมัยอารยธรรมออกเป็น สมัยก่อนปราสาท (Prepalatial), สมัยปราสาทเก่า (Protopalatial), สมัยปราสาทใหม่ (Neopalatial) และสมัยหลังปราสาท (Post-palatial) ความสัมพันธ์ระหว่างระบบลำดับเวลาทั้งสองวิธีแสดงในตารางประกอบ โดยผูกกับเวลาของปฏิทินโดยประมาณโดยวอร์เร็นและแฮงคีย์ (1989)

การระเบิดของภูเขาไฟธีรา (Minoan eruption) อันเป็นการระเบิดระดับ 6 หรือ 7 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index) เกิดขึ้นในสมัยไมนอสตอนปลาย แต่เวลาของการระเบิดตามปฏิทินเป็นข้อที่ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้ จากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon dating) ระบุว่าเกิดเป็นการระเบิดที่ขึ้นราวปลายทศวรรษ 1600 ก่อนคริสต์ศักราช[3][4] แต่เวลาที่ระบุโดยการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีค้านกับการคำนวณโดยนักโบราณคดีผู้เปรียบเวลาการระเบิดกับปฏิทินอียิปต์ ที่ระบุว่าเกิดขึ้นระหว่างปี 1525 ถึงปี 1500 ก่อนคริสต์ศักราช[5][6][7] การระเบิดของภูเขาไฟมักจะเห็นกันว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนอันรุนแรงต่อวัฒนธรรมของไมนอสที่นำไปสู่การล่มสลายอย่างรวดเร็ว ที่อาจจะเป็นเหตุการณ์เดียวกับที่บรรยายในตำนานแอตแลนติสของกรีก

ลำดับเวลาในประวัติศาสตร์ของไมนอส
3500 – 2900 ก่อนปีคริสต์ศักราช EMI Prepalatial

(สมัยก่อนพระราชวัง)

2900 – 2300 ก่อนปีคริสต์ศักราช EMII
2300 – 2100 ก่อนปีคริสต์ศักราช EMIII
2100 – 1900 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIA
1900 – 1800 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIB Protopalatial

(สมัยพระราชวังเก่า)

1800 – 1750 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIIA
1750 – 1700 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIIB Neopalatial

(สมัยพระราชวังใหม่)

1700 – 1650 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIIIA
1650 – 1600 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIIIB
1600 – 1500 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMIA
1500 – 1450 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMIB Postpalatial

(ยุคสุดท้ายของพระราชวังคนอสซอส)

1450 – 1400 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMII
1400 – 1350 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMIIIA
1350 – 1100 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMIIIB

ไมนอสตอนต้น

ยุคสำริดเริ่มบนเกาะครีตเมื่อ 3200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยุคสำริดตอนต้น (3500 ถึง 2100 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้รับการอธิบายว่าเป็น "สัญญาแห่งความยิ่งใหญ่" ในแง่ของการพัฒนาภายหลังบนเกาะในช่วงปลายสหัสวรรษที่สามก่อน ปีก่อนคริสต์ศักราช เกาะครีตพัฒนาเป็นศูนย์กลางของการค้าและการฝีมือทำให้ชนชั้นสูงสามารถใช้ความเป็นผู้นำแผ่ขยายอิทธิพลของตนออกไปได้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าลำดับชั้นดั้งเดิมของชนชั้นสูงในท้องถิ่นจะถูกแทนที่ด้วยระบอบราชาธิปไตย ซึ่งจะมีพระราชวัง เครื่องปั้นดินเผาตามแบบฉบับของวัฒนธรรมยูเตรติส โดยมันถูกค้นพบในครีตในช่วงยุคไมนอสตอนต้น

ไมนอสตอนกลาง

Knossos - North Portico

ในช่วงปลายยุค MMII (1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เกิดความวุ่นวายครั้งใหญ่บนเกาะครีตซึ่งอาจเป็นแผ่นดินไหวหรืออาจเป็นการบุกรุกจากอนาโตเลีย แต่ถึงอย่างไรพระราชวังที่ คนอสซอส, Phaistos, Malia และ Kato Zakros ก็ถูกทำลายลง ในช่วงเริ่มต้นของยุคสมัยวังใหม่ หลังจากนั้นประชากรก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง พระราชวังจึงถูกสร้างขึ้นใหม่และใหญ่ขึ้น การตั้งถิ่นฐานใหม่ถูกสร้างขึ้นทั่วทั้งเกาะ ช่วงเวลานี้ (ศตวรรษที่ 17-16 ก่อนคริสต์ศักราช MMIII-Neopalatial) เป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมไมนอส หลังจากราว 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช วัฒนธรรมบนแผ่นดินใหญ่ของกรีกได้มาถึงจุดสูงสุดใหม่เนื่องจากอิทธิพลของไมนอส


ไมนอสตอนปลาย

ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งราว 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งอาจเป็นการปะทุของภูเขาไฟธีรา ชาวไมนอสก็ได้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่โดยมีความแตกต่างที่สำคัญหลายประการในการสร้าง จากนั้นประมาณ 1450 ปีก่อนคริสต์ศักราช วัฒนธรรมไมนอสก็ได้ถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญเนื่องจากภัยธรรมชาติ แม้ว่าการปะทุของภูเขาไฟธีราอีกครั้งจะเชื่อมโยงกับการล่มสลายนี้ แต่ช่วงเวลาในการระเบิดของภูเขาไฟนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ถึงอย่างไรพระราชวังที่สำคัญหลายแห่ง เช่น มาลิอา , Tylissos , ไฟสทอส และ Hagia Triada และพระราชวังคนอสซอสก็ถูกทำลายลง แต่พระราชวังคนอสซอสดูเหมือนว่าส่วนใหญ่จะไม่พังทลายลงไป ส่งผลให้ราชวงศ์สามารถที่จะแผ่อิทธิพลไปทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะครีตจนกระทั่งถูกรุกรานโดยชาวกรีกไมซีเนียน หลังจากผ่านไปประมาณหนึ่งศตวรรษของการฟื้นฟูบางส่วน เมืองและพระราชวังของครีตส่วนใหญ่ก็สูญหายไปในช่วงศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสต์ศักราช (LHIIIB-LMIIIB) โดยครีตยังคงเป็นศูนย์กลางการปกครองจนถึงช่วง 1200 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนในที่สุดที่มั่นสุดท้ายของไมนอสคือที่แนวป้องกันที่ภูเขาคาร์ฟี ที่หลบภัยซึ่งมีร่องรอยของอารยธรรมไมนอสที่เกือบจะได้เข้าสู่ยุคเหล็กอยู่

อิทธิพลจากต่างประเทศ

อิทธิพลของอารยธรรมไมนอสมีให้เห็นในงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ์ของชาวไมนอสบนแผ่นดินใหญ่ของกรีก มีการนำเข้าสุสานปล้องของชาวไมซีเนียนจากชาวครีตหลายครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นบทบาทของสัญลักษณ์ของไมนอส โดยความเชื่อมโยงระหว่างอียิปต์กับเกาะครีตค่อนข้างมีความชัดเจน เพราะมีการค้นพบเซรามิกของชาวไมนอสได้ในเมืองของอียิปต์ และสินค้านำเข้าที่สำคัญของชาวไมนอสก็มีหลายอย่างที่นำเข้ามาจากอียิปต์ เช่น แอตติกา งาช้าง และกระดาษปาปิรัส  แนวคิดทางสถาปัตยกรรมและศิลปะจากอียิปต์ ซึ่งอักษรอียิปต์โบราณอาจเป็นแบบต้นอแบบของอักษรอียิปต์โบราณของครีต ซึ่งต่อมาก็อาจจะพัฒนาขึ้นเป็นระบบการเขียนแบบ Linear A และ Linear B นอกจากนี้นักโบราณคดีเฮอร์มานน์ เบงต์สันยังพบอิทธิพลของชาวไมนอสในสิ่งประดิษฐ์ของชาวคานาอันอีกด้วย

พระราชวังไมนอสถูกยึดครองโดยชาวไมซีเนียนประมาณปี 1420 – 1375 ก่อนคริสต์ศักราช โดยชาวไมซีเนียนมีแนวโน้มที่จะปรับตัว (แทนที่จะเป็นการแทนที่) วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะ ระบบเศรษฐกิจและระบบราชการของชาวไมนอส นอกจากนี้ภาษาไมซีนีกรีกยังเป็นรูปแบบภาษาของกรีกโบราณที่ถูกเขียนในระบบการเขียนแบบ Linear B ซึ่งเป็นการดัดแปลงจากระบบการเขียนแบบ Linear A อีกด้วย

ภูมิศาสตร์

แผนที่แสดงเมืองและพระราชวังต่าง ๆ ของเกาะครีต

ครีตเป็นเกาะที่มีภูเขาและมีท่าเรือตามธรรมชาติ มีสัญญาณของความเสียหายจากแผ่นดินไหวในหลายพื้นที่ของไมนอสและสัญญาณที่ชัดเจนคือการยกตัวของดินและการจมน้ำของพื้นที่ชายฝั่งอันเนื่องมาจากกระบวนการแปรสัณฐานตามแนวชายฝั่ง

ตามที่โฮเมอร์ได้บันทึกไว้ เกาะครีตมี 90 เมือง เมื่อพิจารณาจากที่ตั้งของพระราชวังแล้ว เกาะนี้อาจถูกแบ่งออกเป็นเมืองอย่างน้อยแปดเมืองในช่วงสูงสุดของยุคไมนอส พื้นที่ส่วนใหญ่ของไมนอสพบได้ในภาคกลางและตะวันออกของเกาะครีต โดยมีเพียงไม่กี่แห่งทางตะวันตกของเกาะ โดยเฉพาะทางใต้ ดูเหมือนว่าจะมีพระราชวังหลักสี่แห่งบนเกาะ: Knossos, Phaistos, Malia และ Kato Zakros อย่างน้อยก่อนการรวมชาติภายใต้ Knossos คิดว่าเกาะครีตตอนกลางและตอนเหนือถูกปกครองโดย Knossos ทางใต้โดย Phaistos ภาคกลางตะวันออกโดย Malia ปลายด้านตะวันออกโดย Kato Zakros ทางตะวันตกโดย Kydonia และยังพบพระราชวังขนาดเล็กที่อื่นบนเกาะอีกด้วย

แหล่งตั้งถิ่นฐานที่สำคัญ

  • Knossos – เมืองใหญ่ที่สุด
  • Phaistos  – เมืองใหญ่รองเป็นอันดับ 2
  • Kato Zakros – ค้นพบพระราชวังริมทะเล
  • Galatas
  • Kydonia (ปัจจุบันคือชาเนีย )
  • Hagia Triada – เจออักษรLinear A จำนวนมากที่สุด
  • Gournia
  • Pyrgos – เมืองทางตอนใต้ของครีต
  • Vasiliki – เมืองทางตะวันออกของไมนอส ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องเครื่องปั้นดินเผาอันโดดเด่น
  • Fournou Korfi – เมืองทางใต้
  • Pseira – เมืองบนเกาะที่มีสถานที่ประกอบพิธีกรรม
  • Mount Juktas – สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาไมนอสที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระราชวัง Knossos
  • Arkalochori
  • Karfi  – เมืองลี้ภัย หนึ่งในเมืองสุดท้ายของไมนอส
  • Akrotiri – การตั้งถิ่นฐานบนเกาะซานโตรินี (ธีรา) ใกล้บริเวณที่ภูเขาไฟธีราเกิดปะทุ
  • Zominthos – เมืองบนภูเขาที่เชิงเขาทางเหนือของภูเขาไอดา

นอกเหนือจากเกาะครีต

แท่งทองแดง

พ่อค้าชาวไมนอสได้มีการเดินทางติดต่อค้าขายและเผยแพร่วัฒนธรรมไปจนถึงอาณาจักรเก่าของอียิปต์ , ทองแดงจากไซปรัส , คานาอัน , ชายฝั่งเลวานไทน์ และอนาโตเลีย ในช่วงปลายปีคริสต์ศักราช 2009 จิตรกรรมฝาผนังสไตล์ไมนอสและสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ถูกค้นพบระหว่างการขุดค้นพระราชวังคานาอันที่ Tel Kabri ประเทศอิสราเอล ซึ่งทำให้นักโบราณคดีสรุปได้ว่าอิทธิพลของไมนอสมีอิทธิพลมากที่สุดในรัฐคานาอัน สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ของชาวไมนอสถูกค้นพบที่อิสราเอล

งานหัตถกรรมของชาวไมนอสและรูปแบบของเซรามิกมีอิทธิพลต่อกรีกสมัยเฮลลาดิคในระดับต่าง ๆ ร่วมกับซานโตรินี พบการตั้งถิ่นฐานของไมนอสที่ Kastri, Kythera ซึ่งเป็นเกาะใกล้แผ่นดินใหญ่ของกรีกที่ได้รับอิทธิพลจากชาวไมนอสตั้งแต่กลางสหัสวรรษที่สามก่อนคริสต์ศักราช (EMII) จนถึงการยึดครองของไมซีเนียนในศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสต์ศักราช

หมู่เกาะคิคลาดีสอยู่นั้นรอบ ๆ อารยธรรมไมนอส และใกล้กับเกาะครีต หมู่เกาะคาร์พาทอส ซาเรียและคาซอสนอกจากนี้ยังมีอาณานิคมหรือการตั้งถิ่นฐานของพ่อค้าชาวไมนอสในยุคสำริดกลาง และส่วนใหญ่ก็จะถูกละทิ้งใน LMI แต่คาร์พาทอสยังสามารถที่จะฟื้นตัวและสานต่อวัฒนธรรมไมนอสไปได้จนสิ้นสุดยุคสำริด

Cretans Bringing Gifts, Tomb of Rekhmire
ภาพจิตรกรรมฝาผนังของเมืองคนอสซอสแสดงให้เห็นถึงบรรยากาศการค้าขายทางทะเลที่คึกคักของเมืองคนอสซอส

อิทธิพลทางวัฒนธรรมของไมนอสนั้นได้แผ่ขยายไปทั่วหมู่เกาะคิคลาดีสไปจนถึงอียิปต์และไซปรัส ภาพวาดในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราชในเมืองธีบส์ ประเทศอียิปต์ พรรณนาถึงชาวไมนอสที่ปรากฏตัวมาพร้อมกับของขวัญ คำจารึกที่อธิบายว่ามาจาก เกาะเคฟติอู ("เกาะกลางทะเล") อาจหมายถึงพ่อค้าหรือเจ้าหน้าที่ที่นำของขวัญมาจากเกาะครีต


การเกษตรและอาหาร

ชาวไมนอสนั้นทำทั้งการเกษตรและปศุสัตว์ โดยในด้านปศุสัตว์ก็มีการเลี้ยงโค แกะ สุกรและแพะ ส่วนในด้านการเกษตรชาวไมนอสก็มีการปลูกพืชหลายอย่าง เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ หญ้าแฝก ถั่วชิกพี องุ่น  มะเดื่อและมะกอก และดอกป๊อปปี้ ส่วนผักต่าง ๆ รวมทั้งผักกาดหอม ขึ้นฉ่าย หน่อไม้ฝรั่ง และแครอท เติบโตในป่าบนเกาะครีต โดยในด้านของต้นแพร์ มะตูม และมะกอกเป็นพืชพื้นเมือง ส่วนต้นอินทผลัมและต้นแมวก็มีการนำเข้ามาจากอียิปต์ และชาวไมนอสก็มีการนำเอาผลทับทิมจากทางฝั่งตะวันออกใกล้มาเข้ามาปลูก แต่ไม่ได้รับมะนาวและส้มเข้ามา นอกจากนี้ชาวไมนอสยังมีการเลี้ยงผึ้งอีกด้วย

ภาพปูนเปียกปลาโลมาจาก Knossos

ชาวไมนอสอาจเคยปลูกพืชผักแบบผสมผสานและอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลายและดีต่อสุขภาพของพวกเขา ส่งผลทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้น โดยสวนผลไม้ (มะเดื่อ มะกอก และองุ่น) นั้นมีความสำคัญในการแปรรูปพืชผลสำหรับ "ผลิตภัณฑ์รอง" และการหมักไวน์จากองุ่นน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งในระบบเศรษฐกิจแบบพระราชวัง โดยไวน์จะเป็นสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในประเทศ

อาหารทะเลก็มีความสำคัญในอาหารของชาวครีตเช่นกัน เห็นได้จากความชุกของหอยที่สามารถหาได้ในบริเวณเกาะและศิลปะที่เกี่ยวข้องกับปลาและสัตว์ทะเล (รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาสไตล์มารีนที่โดดเด่น เช่น โถโกลน ปลาหมึก ในยุค LM IIIC) บ่งบอกถึงความเคารพในสัตว์ทะเล อย่างไรก็ตามนักวิชาการเชื่อว่าทรัพยากรเหล่านี้ไม่สำคัญเท่ากับธัญพืช มะกอก และผลผลิตจากสัตว์ และกิจกรรมทางการเกษตรที่เยอะขึ้นแสดงให้เห็นจากการที่มีการก่อสร้างระเบียงและเขื่อนที่ Pseira ในช่วงปลายยุคไมนอส

พืชและไม้ดอกบางชนิดไม่ได้มีประโยชน์เพื่อใช้สอยเพียงอย่างเดียว และภาพศิลปะก็แสดงให้เห็นถึงภาพของการรวมตัวของดอกลิลลี่ในทุ่งหญ้าสีเขียว โดยภาพปูนเปียกที่รู้จักกันในชื่อ Sacred Grove ที่คนอสซอสแสดงให้เห็นผู้หญิงที่หันหน้าไปทางซ้าย ขนาบข้างด้วยต้นไม้ ซึ่งอาจจะเป็นเทศกาลเก็บเกี่ยวหรือพิธีเพื่อเป็นเกียรติแก่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้ภาพ "แจกันเก็บเกี่ยว" (รีตันรูปไข่) ซึ่งชาย 27 คนนำโดยอีกคนหนึ่งถือกิ่งไม้เพื่อทุบมะกอกสุกจากต้นไม้ ยังปรากฏในสมัยพระราชวังที่สองอีกด้วย

แจกันเก็บเกี่ยว


สังคม การเมือง และวัฒนธรรม

นอกเหนือจากเกษตรกรรมในท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์แล้ว ชาวไมนอสยังเป็นพ่อค้าที่ค้าขายกับต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และในยุครุ่งเรือง พวกเขาอาจจะมีอิทธิพลที่สูงในการค้าแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยตั้งแต่หลังช่วง 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราชขึ้นไป วัฒนธรรมของพวกเขาแสดงได้ถึงอารยธรรมระดับสูง สินค้าที่ผลิตขึ้นจากไมนอสชี้ให้เห็นถึงเครือข่ายการค้ากับกรีซแผ่นดินใหญ่ (โดยเฉพาะเมืองไมซีนี) ไซปรัส ซีเรีย อนาโตเลีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และทางตะวันตกไปจนถึงคาบสมุทรไอบีเรีย เห็นได้ชัดว่าศาสนาไมนอสนั้นเน้นที่เทพสตรี โดยมีสตรีเป็นพิธี ในขณะที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีไม่เชื่อเรื่องการปกครองแบบมีครอบครัว (การปกครองแบบฉันแม่ลูก) มาช้านานแล้ว แต่การที่ผู้หญิงมีบทบาทหรืออำนาจที่เหนือกว่าผู้ชายดูเหมือนจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าสังคมไมนอสนั้นมีการปกครองแบบมีครอบครัว

สังคมและการเมือง

ด้านสังคม สังคมจะเป็นแบบกลุ่ม พรรคพวก พี่น้อง มีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้นำอาศัยอยู่เป็นหมู่บ้านหรืออยู่ในบ้านใหญ่รวมกัน เมื่อสมาชิกในกลุ่มเสียชีวิตก็จะฝังในที่ฝังศพแบบครึ่งวงกลมร่วมกันพร้อมกับอาวุธ แจกัน เครื่องประดับ แม้ว่าภายหลังจะแยกหลุมศพเป็นของแต่ละคนแบบในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีโอ่งใหญ่ใช้เป็นที่เก็บศพเด็กๆ ฝังรวมกันอยู่ หลังสุดจึงเกิดสุสานขึ้นที่เมืองซาเฟอร์-ปาปูรา (Zafer-papoura)

ภาพการบูรณะพระราชวัง Knossos

ทางด้านการเมือง ราว 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีลักษณะอยู่กันเป็นแบบ”สังคมวัง” หรือคือ รอบพระราชวังเป็นเมืองเล็กบ้างใหญ่บ้าง อาจเป็นของเจ้าของที่ดินหรือพ่อค้าที่ร่ำรวย โดยมีลักษณะการสร้างที่แปลกกว่าที่อื่น คือบ้านเหล่านี้สร้างติดกับรั้วพระราชวังเลย บางเมืองไม่มีพระราชวังอยู่ในบริเวณ ที่อยู่อาศัยของคนจะเป็นลักษณะแคบ ปลูกติด ๆ กันตามริมฝั่งถนนที่ปูด้วยแผ่นหิน หรือริมถนนแคบๆ ที่มีบันไดเป็นระยะไป และทั้งพระราชวังและเมืองของอารยธรรมครีตจะไม่มีกำแพงเมือง ซึ่งตรงข้ามกับเมืองของไมเซเนียนและเมืองทางเอเชีย อาจเป็นเพราะว่าคนในแถบนี้มุ่งมั่นทำแต่การค้าระหว่างกัน โดยไม่ปรากฏว่ามีการทำสงครามกัน และครีตเองก็มีอำนาจทางทะเลมาก ความร่ำรวยของครีตบ่งบอกถึงอารยธรรมมิโนเอียน คือรสนิยมในเรื่องความสุขสบาย ความสวยงามและความหรูหรา  เมื่อราชวงศ์เอเจียนเริ่มปกครองครีต จึงมีการรวมอำนาจมาไว้ที่ส่วนกลาง รวมทั้งด้านการเงินและผลิตผลต้องมารวมอยู่ในพระราชวัง โดยที่คนอสซอสจะมีกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ช่วยพระราชาบริหารประเทศ ซึ่งก็คือพวกสคริป (Scribes) ทำหน้าที่ทางด้านการจดบันทึกและทำบัญชีผลิตผลของพระราชวังโดยจดลงบนแผ่นดินเหนียว ภายในพระราชฐานจะมีอาคารสำหรับเก็บผลิตผล สร้างเป็นอาคารใหญ่มีทางเดินอยู่ตรงกลาง สองข้างเป็นช่องหินสำหรับใส่โลหะมีค่าหรือของมีค่า บางแห่งก็วางโถใหญ่สำหรับบรรจุเมล็ดพืชหรืออาหาร เช่น ถั่วหรือผลไม้ตากแห้ง เป็นต้น  โดยของพวกนี้จะใช้สำหรับเลี้ยงดูข้าราชสำนัก และใช้จ่ายแทนเงินในพิธีทางศาสนาหรือใช้จ่ายเป็นเงินเดือน นอกจากนี้ของจากพระราชวังที่ทำด้วยเซรามิก กระเบื้อง เครื่องเงินทองหรือหินมีค่า ผลิตภัณฑ์ของช่างเหล่านี้จะถูกประทับตราพระราชวงศ์ และส่งออกไปขายยังอาณาจักรอื่น ๆ และอีกอย่างหนึ่ง กองทัพครีตมีพระราชาเป็นผู้นำทัพ และใช้ทหารจ้างผิวดำมาเป็นทหาร ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามีการบริหารบ้านเมืองคล้ายแบบอียิปต์

การแต่งกาย

La Parisienne fresco

ขนแกะเป็นเส้นใยหลักที่ใช้ในสิ่งทอ ซึ่งอาจเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ แต่ผ้าลินินจากต้นแฟลกซ์นั้นมีน้อยมาก จึงอาจจะมีการนำเข้ามาจากอียิปต์หรือปลูกในท้องถิ่นเอา ตามศิลปะไมนอส ผู้ชายชาวไมนอสมักจะสวมผ้าเตี่ยว (ถ้ายากจน) หรือเสื้อคลุมหรือกระโปรงสั้นพับจีบที่มักจะยาว ส่วนผู้หญิงสวมเดรสยาวแขนสั้นและกระโปรงเป็นชั้น ๆ สำหรับทั้งสองเพศ เอวตัวต่อขนาดเล็กมีความสำคัญอย่างมากในงานศิลปะ และทั้งสองเพศมักมีเข็มขัดคาดหรือคาดเอวค่อนข้างหนา ผู้หญิงยังสามารถสวมเสื้อท่อนบนที่ไม่มีสายหนังเข้ารูป และรูปแบบเสื้อผ้ามีการออกแบบทางเรขาคณิตที่สมมาตร ผู้ชายถูกมองว่าเป็นคนโกนเกลี้ยงเกลา และผมของผู้ชายนั้นสั้น ในรูปแบบที่เป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน ยกเว้นปอยผมยาวบางที่ด้านหลัง บางทีสำหรับผู้ชายที่อายุน้อย โดยทั่วไปแล้วผมผู้หญิงจะแสดงด้วยปอยผมยาวที่ด้านหลัง เช่นเดียวกับในภาพปูนเปียกที่รู้จักกันในชื่อ La Parisienne สิ่งนี้ได้ชื่อมาเพราะเมื่อมีการค้นพบในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวฝรั่งเศสคิดว่ามันคล้ายกับผู้หญิงชาวปารีสในสมัยนั้น ในส่วนเด็ก ๆ ในงานศิลปะภาพวาดปูนเปียกจะมีการโกนหัว (มักเป็นสีน้ำเงินในงานศิลปะ) ยกเว้นผมที่ยาวมาก ๆ สองสามเส้น ผมที่เหลือจะได้รับอนุญาตให้เติบโตเมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยแรกรุ่น ซึ่งสามารถเห็นได้จากภาพวาดปูนเปียก Akrotiri Boxer

Young boxers fresco

สถาปัตยกรรม

โมเดลบ้านไมนอสที่พบใน Archanes

เมืองไมนอสเชื่อมต่อกันด้วยถนนแคบ ๆ ที่ปูด้วยท่อนไม้ที่ตัดด้วยเลื่อยทองสัมฤทธิ์ ถนนถูกระบายออก และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านน้ำและสิ่งปฏิกูลมีให้สำหรับชนชั้นสูงผ่านท่อดินเหนียว อาคารไมนอสมักมีหลังคาเรียบและกระเบื้อง ปูนปลาสเตอร์ ไม้หรือพื้นกระเบื้อง และมีความสูงสองถึงสามชั้น ผนังด้านล่างมักจะสร้างด้วยหินและเศษหินหรืออิฐ และผนังด้านบนเป็นอิฐโคลน ไม้เพดานยกหลังคาขึ้น วัสดุก่อสร้างสำหรับวิลล่าและพระราชวังแตกต่างกันไป รวมถึงหินทราย ยิปซั่ม และหินปูน เทคนิคการก่อสร้างก็หลากหลายเช่นกัน โดยพระราชวังบางแห่งใช้อิฐแอชลาร์และส่วนอื่น ๆ ที่สกัดด้วยหินขนาดใหญ่ ในภาคเหนือตอนกลางของครีต blue-greenschist ถูกใช้เพื่อปูพื้นถนนและสนามหญ้าระหว่าง 1650 ถึง 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช หินเหล่านี้น่าจะถูกขุดขึ้นมาใน Agia Pelagia บนชายฝั่งทางเหนือของตอนกลางของเกาะครีต

การประปา

ท่อระบายน้ำของพระราชวัง Knossos

ในช่วงยุคไมนอส มีการสร้างทางน้ำที่กว้างขวางเพื่อเลี้ยงประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ระบบนี้มีหน้าที่หลักสองประการ ประการแรกคือการจัดหาและการจ่ายน้ำ และประการที่สองคือการย้ายสิ่งปฏิกูลและน้ำฝน การกำหนดลักษณะอย่างหนึ่งของยุคไมนอสคือความสำเร็จทางสถาปัตยกรรมของการจัดการสิ่งปฏิกูล ชาวไมนอสใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น บ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ และท่อระบายน้ำเพื่อจัดการแหล่งน้ำ นอกจากนี้ลักษณะโครงสร้างของอาคารก็มีส่วนด้วย หลังคาที่เรียบและลานเปิดโล่งจำนวนมากใช้สำหรับเก็บน้ำเพื่อเก็บไว้ในถังเก็บน้ำ ที่สำคัญชาวไมนอสมีอุปกรณ์บำบัดน้ำ อุปกรณ์ดังกล่าวชิ้นหนึ่งดูเหมือนจะเป็นท่อดินเหนียวที่มีรูพรุนซึ่งอนุญาตให้น้ำไหลผ่านจนสะอาด

เครื่องปั้นดินเผา

แจกันสไตล์มารีนจาก Palaikastro , AMH, (1575–1500 BC)

เครื่องถ้วยชามที่มีรูปแบบและเทคนิคการผลิตที่หลากหลายสามารถพบเห็นได้ตลอดประวัติศาสตร์ของเกาะครีต เซรามิกไมนอสในยุคแรกมีลักษณะเฉพาะด้วยลวดลายเกลียว สามเหลี่ยม เส้นโค้ง กากบาท กระดูกปลา และปากนก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าลวดลายทางศิลปะจำนวนมากจะคล้ายคลึงกันในสมัยไมนอสตอนต้น แต่ก็มีความแตกต่างในกระบวนการวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในด้านรสนิยมและโครงสร้างทางอำนาจ นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นดินเผาขนาดเล็กจำนวนมาก

ในช่วงยุคกลางของไมนอส การออกแบบที่เป็นธรรมชาติ (เช่น ปลา ปลาหมึก นก และดอกลิลลี่) เป็นเรื่องปกติ ในช่วงปลายยุคไมนอส ดอกไม้และสัตว์ยังคงมีลักษณะเฉพาะแต่มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ก็ตรงกันข้ามกับภาพวาดบนแจกันกรีกโบราณในยุคหลัง ภาพวาดของมนุษย์นั้นหายากมาก และภาพวาดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกนั้นไม่ธรรมดาจนกระทั่งถึงช่วงปลาย รูปทรงและเครื่องประดับมักถูกยืมมาจากเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำจากโลหะซึ่งส่วนใหญ่ใช้ไม่ได้ ในขณะที่การตกแต่งที่ทาสีน่าจะมาจากจิตรกรรมฝาผนังเป็นส่วนใหญ่

ศาสนาและความเชื่อ

รูปแกะสลักเทพธิดางูไมนอส

ทางด้านศาสนา เกี่ยวกับพระราชวังอีกลักษณะพิเศษของครีตอีกอย่างก็คือ บนเกาะครีตไม่มีวัด เวลามีพิธีทางศาสนาจะทำ กันตามถ้ำในภูเขาสูงหรือในห้องพิธีทางศาสนาของราชวัง ที่เป็นห้องขนาดย่อม พระราชาผู้เป็นทั้งพระและกษัตริย์ก็จะเสด็จมาทำพิธี ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่าชาวทะเลเอเจียนนับถือรูปปั้นผู้หญิงมาแต่ดั้งเดิม ครีตก็เช่นกัน แต่สมัยนั้นเป็นรูปปั้นผู้หญิงคนเดียว เรียกกันว่า เจ้าแม่ ส่วนมากรูปปั้นเจ้าแม่จะอยู่ในลักษณะเปลือย คาดว่าคงเป็นธรรมเนียมทางศาสนา เพราะคนธรรมดาแต่งตัวอย่างสง่างามด้วยเสื้อที่ปกปิดมิดชิด การที่คนนับถือเจ้าแม่ทำให้สังคมยกย่องสตรี สตรีจึงมีเสรีภาพในการที่จะไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ มีบทบาทสำคัญ ในพิธีทางศาสนา ต่อมาผู้ชายสร้างพระเจ้าขึ้นมา แต่ก็ยังเป็นรองเจ้าแม่ เพราะจะออกมาในฐานะเป็นลูกชายของเจ้าแม่และมีวัวกระทิงเป็นสัญลักษณ์

การล่มสลายของอารยธรรมไมนอส

ระหว่างปี 1935 และ 1939 นักโบราณคดีชาวกรีก ศ.สปิริโดน นิโคเลา มารีนาโตส ได้เสนอทฤษฎีการปะทุของไมนอส การปะทุบนเกาะธีรา  (ปัจจุบันคือซานโตรินี) ห่างจากเกาะครีตประมาณ 100 กิโลเมตร เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา LM IA (1550–1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) การระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่เคยบันทึกไว้ มันปล่อยควันออกมาประมาณ 60 ถึง 100 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความรุนแรงระดับที่ 7 ตามดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ การปะทุได้ทำลายล้างนิคมไมนอสที่อยู่ใกล้เคียงที่ Akrotiri บนซานโตรินี ซึ่งถูกฝังอยู่ในชั้นหินภูเขาไฟ แม้ว่าจะเชื่อกันว่าส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวัฒนธรรมไมนอสของเกาะครีต แต่ก็ยังมีการถกเถียงถึงผลกระทบของมัน  ทฤษฎีแรก ๆ เสนอว่าเถ้าภูเขาไฟจากภูเขาไฟธีราได้ทำลายสรรพชีวิตในทางตะวันออกของเกาะ ครีต ทำให้ประชากรในท้องถิ่นอดอยาก อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบอย่างละเอียดยิ่งขึ้น ระบุว่ามีเถ้าถ่านจากการระเบิดของภูเขาไฟที่ตกลงบนเกาะครีตนั้นหนาไม่เกิน 5 มิลลิเมตร

การปะทุของภูเขาไฟธีรา 1650 ปีก่อนคริสต์ศักราชบนเกาะซานโตรินีเชื่อว่ามีส่วนทำให้การล่มสลายของไมนอส

จากหลักฐานทางโบราณคดี การศึกษาระบุว่าสึนามิขนาดมหึมาที่เกิดจากการระเบิดของธีราได้ทำลายชายฝั่งของเกาะครีตและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวไมนอสจำนวนมาก ถึงแม้ว่ายุค LM IIIA (ปลายไมนอส) อารยธรรมไมนอสจะมีฐานะที่มั่งคั่งและมีอิทธิพลสูง แต่ในช่วง LM IIIB (หลายศตวรรษหลังจากการปะทุ)ความร่ำรวยและอิทธิพลของไมนอสก็ได้ลดลง และยังได้มีการพบหลักฐานชิ้นสำคัญเหนือชั้นเถ้าถ่านเถ้าถ่านของไมนอสช่วงปลาย นั่นหมายความว่าการปะทุของธีราไม่ได้ทำให้เกิดการล่มสลายของอารยธรรมไมนอสในทันที อย่างไรก็ตามการปะทุของธีราอาจทำใหัเศรษฐกิจตกต่ำเป็นอย่างมาก โดยในช่วงปลายยุคไมนอสที่ 2 ชาวไมซีเนียนสามารถพิชิตชาวไมนอสได้ และพบอาวุธของชาวไมซีเนียนในการฝังศพบนเกาะครีตไม่นานหลังจากการปะทุ นักโบราณคดีหลายคนเชื่อว่าการปะทุดังกล่าวก่อให้เกิดวิกฤต ทำให้ไมนอสเสี่ยงที่จะถูกโจมตีโดยไมซีเนียน แม้ว่าการล่มสลายของอารยธรรมจะได้รับมีแรงสนับสนุนจากการปะทุของภูเขาไฟธีรา แต่จุดจบของอารยธรรมไมนอสก็น่าจะมาจากการถูกพิชิต หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าเกาะนี้ถูกทำลายด้วยการถูกเผาโดยพระราชวังที่คนอสซอสได้รับความเสียหายน้อยกว่าสถานที่อื่นๆบนเกาะครีต เนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ได้ส่งผลกระทบต่อมันมากนัก จึงอาจเกิดจากที่ผู้บุกรุกที่อาจยึดพระราชวังเช่นคนอสซอสไว้ใช้เอง

นอกจากนี้นักโบราณคดีหลายคนได้พบว่าที่ตั้งของอารยธรรมไมนอสนั้นเกินขีดความสามารถในการรับรองสิ่งแวดล้อม (ค่าสูงสุดของกิจกรรมที่พื้นที่นั้นจะสามารถรองรับได้ โดยที่สิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศยังไม่เสื่อมโทรม)และจากการสำรวจทางโบราณคดีที่คนอสซอสแสดงถึงการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ในระยะหลังของอารยธรรม

อ้างอิง

  1. Durant, The Life of Greece (The Story of Civilization Part II, (New York: Simon & Schuster) 1939:11.
  2. John Bennet, "Minoan civilization", Oxford Classical Dictionary, 3rd ed., p. 985.
  3. Manning, Sturt W; Ramsey, CB; Kutschera, W; Higham, T; Kromer, B; Steier, P; Wild, EM (2006). "Chronology for the Aegean Late Bronze Age 1700–1400 BC". Science. 312 (5773): 565–569. Bibcode:2006Sci...312..565M. doi:10.1126/science.1125682. PMID 16645092. S2CID 21557268.
  4. Friedrich, Walter L; Kromer, B; Friedrich, M; Heinemeier, J; Pfeiffer, T; Talamo, S (2006). "Santorini Eruption Radiocarbon Dated to 1627–1600 B.C". Science. 312 (5773): 548. doi:10.1126/science.1125087. PMID 16645088. S2CID 35908442.
  5. "Chronology". Thera Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-09. สืบค้นเมื่อ 2009-01-03.
  6. Balter, M (2006). "New Carbon Dates Support Revised History of Ancient Mediterranean". Science. 312 (5773): 508–509. doi:10.1126/science.312.5773.508. PMID 16645054. S2CID 26804444.
  7. Warren PM (2006). Czerny E, Hein I, Hunger H, Melman D, Schwab A (บ.ก.). Timelines: Studies in Honour of Manfred Bietak (Orientalia Lovaniensia Analecta 149). Louvain-la-Neuve, Belgium: Peeters. pp. 2: 305–321. ISBN 978-90-429-1730-9.

ดูเพิ่ม