ชุดตัวอักษรแอราเมอิก
ชุดตัวอักษรแอราเมอิก (อังกฤษ: Aramaic alphabet) พัฒนาขึ้นในช่วง 1,000–900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเข้ามาแทนที่อักษรรูปลิ่มของอัสซีเรียซึ่งเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิอัสซีเรีย อักษรชุดนี้เป็นต้นกำเนิดของอักษรตระกูลเซมิติกอื่น ๆ และอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรขโรษฐีที่ใช้ในแถบเอเชียกลางแถบแคว้นคันธาระและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชุดตัวอักษรแอราเมอิกยุคแรกเริ่มถูกแทนที่ด้วยชุดตัวอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ที่รู้จักต่อมาในชื่อชุดตัวอักษรแอราเมอิก
ลักษณะ
เป็นอักษรไร้สระ ไม่มีเครื่องหมายการออกเสียง เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน
ตัวอักษร
ชื่อตัวอักษร |
รูปเขียนแอราเมอิก | สัทอักษรสากล | พยัญชนะนี้ในอักษรอื่น ๆ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรซีรีแอก | อักษรแอราเมอิกสมัยจักรวรรดิเปอร์เซีย | อักษรฮีบรู | อักษรฟินิเชีย | อักษรอาหรับ | อักษรพราหมี | อักษรนาบาทาเอียน | อักษรขโรษฐี | อักษรแอราเมอิกตัวเหลี่ยม | ||||
ภาพ | ตัวหนังสือ | ภาพ | ตัวหนังสือ | |||||||||
อาเลป | ܐ | 𐡀 | /ʔ/; /aː/, /eː/ | א | 𐤀 | ا | 𑀅 | 𐨀 | ||||
เบธ | ܒ | 𐡁 | /b/, /β/ | ב | 𐤁 | ب | 𑀩 | 𐨦 | ||||
กามัล | ܓ | 𐡂 | /ɡ/, /ɣ/ | ג | 𐤂 | ج | 𑀕 | 𐨒 | ||||
ดาลัธ | ܕ | 𐡃 | /d/, /ð/ | ד | 𐤃 | د ذ | 𑀥 | 𐨢 | ||||
เฮ | ܗ | 𐡄 | /ɦ/ | ח | 𐤄 | ه | 𑀳 | 𐨱 | ||||
เวา | ܘ | 𐡅 | /w/; /oː/, /uː/ | ו | 𐤅 | و | 𑀯 | 𐨬 | ||||
ซายน์ | ܙ | 𐡆 | /z/ | ז | 𐤆 | ز | 𑀚 | 𐨗 | ||||
เฮท | ܚ | 𐡇 | /ʜ/ /χ/ | ח | 𐤇 | ح خ | 𑀖 | 𐨓 | ||||
เทท | ܛ | 𐡈 | /tˤ/ | ט | 𐤈 | ط ظ | 𑀣 | 𐨠 | ||||
ย้อด | ܝ | 𐡉 | /j/; /iː/, /eː/ | י | 𐤉 | ي | 𑀬 | 𐨩 | ||||
คาป | ܟ | 𐡊 | /k/, /x/ | כ ך | 𐤊 | ك | 𑀓 | 𐨐 | ||||
ลาเมด | ܠ | 𐡋 | /l/ | ל | 𐤋 | ل | 𑀮 | 𐨫 | ||||
เมม | ܡ | 𐡌 | /m/ | מ ם | 𐤌 | م | 𑀫 | 𐨨 | ||||
นุน | ܢ | 𐡍 | /n/ | נ ן | 𐤍 | ن | 𑀦 | 𐨣 | ||||
เซมกัธ | ܣ | 𐡎 | /s/ | ס | 𐤎 | س | 𑀰 | 𐨭 | ||||
เอ | ܥ | 𐡏 | /ʢ/ /ʁ/ | ע | 𐤏 | ع غ | 𑀏 | 𐨀𐨅 | ||||
เพ | ܦ | 𐡐 | /p/, /ɸ/ | פ ף | 𐤐 | ف | 𑀧 | 𐨤 | ||||
ซาเด | ܨ | , | 𐡑 | /sˤ/ | צ ץ | 𐤑 | ص ض | 𑀲 | 𐨯 | |||
คอป | ܩ | 𐡒 | /qˤ/ | ק | 𐤒 | ق | 𑀔 | 𐨑 | ||||
เรช | ܪ | 𐡓 | /r/ | ר | 𐤓 | ر | 𑀭 | 𐨪 | ||||
ชีน | ܫ | 𐡔 | /ʃ/ | ש | 𐤔 | ش | 𑀱 | 𐨮 | ||||
ทาฟ | ܬ | 𐡕 | /t/, /θ/ | ת | 𐤕 | ت ث | 𑀢 | 𐨟 |
ในการเขียนอักษรแอราเมอิก เวา และ ย้อด สามารถเป็นได้ทั้งพยัญชนะและสระ โดยทั่วไปแล้วตัวอักษรสองตัวนี้ เป็นได้เฉพาะพยัญชนะ ว และ ย ตามลำดับ แต่ในภายหลัง ตัวอักษรทั้งสองตัวนี้ สามารถใช้เป็นสระเสียงยาว -ู(อู) และ -ี (อี) (บ่อยครั้งสามารถแทนสระ โ- และ เ- ได้ด้วย)
อาเลป ก็สามารถเป็นได้ทั้งพยัญชนะและสระเช่นกัน เดิมทีเป็นพยัญชนะ อ ในภาษาไทย ในภายหลังสามารถใช้นำหน้าตัวอักษรที่แทนสระเสียงยาว และสามารถใช้แทนสระ -า หรือ เ- โดยชาวยิว อิทธิพลของภาษาฮีบรูทำให้ใช้แทนที่ตัว เฮ ที่ท้ายคำ