เกลาดีโอส ปโตเลไมโอส
เกลาดีโอส ปโตเลไมโอส | |
---|---|
เกลาดีโอส ปโตเลไมโอส ในชุดสไตล์เยอรมัน บนหน้าปกหนังสือในศตวรรษที่ 16 | |
เกิด | ราว ค.ศ. 85 |
เสียชีวิต | ราว ค.ศ. 168 |
สัญชาติ | กรีก-โรมัน |
ชื่ออื่น | ทอเลมี |
อาชีพ | นักดาราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ |
ยุคสมัย | คริสต์ศตวรรษที่ 1-2 |
ผลงานเด่น | “อัลมาเกสต์” และ “ภูมิศาสตร์” |
ตำแหน่ง | นักภูมิศาสตร์ |
หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวกรีก |
- ดูชื่อหรือความหมายอื่น ๆ ได้ที่ ทอเลมี (ชื่อ)
เกลาดีโอส ปโตเลไมโอส (กรีก: Κλαύδιος Πτολεμαῖος;, [klǎu̯.di.os pto.le.mâi̯.os]) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ทอเลมี (อังกฤษ: Ptolemy) เป็นนักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์[1] และนักโหราศาสตร์ชาวโรมันเชื้อสายกรีกโบราณ คาดว่ามีชีวิตและทำงานอยู่ในเมืองอเล็กซานเดรีย จักรวรรดิโรมัน[1]
เขาเป็นผู้แต่งตำราที่สำคัญหลายเล่ม ที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางวิชาการ ในจำนวนนี้ มีสองเล่มที่ได้ใช้สืบต่อไปในวิทยาการของอาหรับและยุโรป เล่มแรกคือคัมภีร์ดาราศาสตร์ในชื่อว่า The Mathematical Compilation (กรีก: Μαθηματική Σύνταξις ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น The Greatest Compilation (กรีก: Η Μεγάλη Σύνταξις ชาวอาหรับได้แปลหนังสือเล่มนี้ และให้ชื่อใหม่เป็นภาษาอาหรับว่า "al-majisti" ซึ่งภายหลังจากนั้นถูกแปลเป็นภาษาละตินว่า อัลมาเกสต์ (Almagest)[1]
อัลมาเกสต์เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ว่า: โลกมีลักษณะเป็นทรงกลม เป็นศูนย์กลางของจักรวาล (แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง) และหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว; โดยทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับอยู่ยาวนานถึง 1,400 กว่าปี จนกระทั่งถึงสมัยของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส[2]
ตำราอีกเล่มหนึ่งคือ "ภูมิศาสตร์" ซึ่งเกี่ยวกับความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในโลกยุคกรีก-โรมัน อย่างละเอียด
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติของปโตเลไมโอส เก็บถาวร 2007-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ↑ ศูนย์กลางของระบบสุริยะ เก็บถาวร 2009-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ไทย)