เทศบาลตำบลเวียงพร้าว
เทศบาลตำบลเวียงพร้าว | |
---|---|
ทุ่งนาในเขตเทศบาลตำบลเวียงพร้าว | |
พิกัด: 19°21′52.3″N 99°12′7″E / 19.364528°N 99.20194°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
อำเภอ | พร้าว |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.30 ตร.กม. (4.75 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 4,535 คน |
• ความหนาแน่น | 368.69 คน/ตร.กม. (954.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 5501101 |
ทางหลวง | |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 333 หมู่ 4 ตำบลเวียงพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 50190 |
เว็บไซต์ | www |
เวียงพร้าว เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลที่ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง และตำบลทุ่งหลวง ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการบริหาร คมนาคม และย่านธุรกิจของอำเภอพร้าว
ที่ตั้งและอาณาเขต
เทศบาลตำบลเวียงพร้าวมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสันทราย และเทศบาลตำบลป่าไหน่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลป่าตุ้ม
- ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลน้ำแพร่ และเทศบาลตำบลบ้านโป่ง
ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการรื้อฟื้นระบบสุขาภิบาล ซึ่งได้ระงับไปเป็นเวลานานขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้รัฐบาลได้จัดให้มีการตั้งสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่ ซึ่งยังไม่มีฐานะเป็นชุมชนเทศบาล แต่เป็นเขตท้องที่ที่มีรายได้ ในปี พ.ศ. 2499 จึงได้แบ่งพื้นที่หมู่ 1 บ้านช่างคำ, หมู่ 2 บ้านขามสุ่ม, หมู่ 3 บ้านป่าเสี้ยว และหมู่ 4 บ้านแจ่งกู่เรือง รวม 4 หมู่บ้าน จัดตั้งเป็น สุขาภิบาลเวียงพร้าว[2] ต่อมาสุขาภิบาลเวียงพร้าวได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[3] ด้วยผลของกฎหมายภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
ปี พ.ศ. 2544 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงมีพื้นที่ 2 หมู่บ้าน ประชากร 1,127 คน และมี 268 ครัวเรือน[4] โดยพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ไม่สามารถที่จะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพในลักษณะองค์การบริหารส่วนตำบลได้ และประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะยุบรวมกับเทศบาลตำบลเวียงพร้าวที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน จึงรวมเข้ากับเทศบาลตำบลเวียงพร้าว ในปี พ.ศ. 2545[5]
ปี พ.ศ. 2546 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงมีพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ประชากร 1,858 คน และมี 673 ครัวเรือน[6] ไม่ผ่านเงื่อนไขในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล กระทรวงมหาดไทยจึงดำเนินการประกาศยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเข้ากับเทศบาลตำบลเวียงพร้าว ในปี พ.ศ. 2547[7] และกำหนดเขตเทศบาลขึ้นใหม่
ประชากร
พื้นที่เทศบาลตำบลเวียงพร้าวประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 12 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรรวมทั้งหมด 4,535 คน แบ่งเป็นชาย 2,071 คน หญิง 2,464 คน (เดือนธันวาคม 2566)[8]
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[9] | พ.ศ. 2565[10] | พ.ศ. 2564[11] | พ.ศ. 2563[12] | พ.ศ. 2562[13] | พ.ศ. 2561[14] | พ.ศ. 2560[15] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ตำบลเวียง | |||||||
แจ่งกู่เรือง | 661 | 680 | 704 | 721 | 738 | 761 | 777 |
ช่างคำ | 625 | 637 | 654 | 654 | 668 | 686 | 728 |
ป่าเสี้ยว | 506 | 522 | 529 | 543 | 546 | 576 | 596 |
ขามสุ่ม | 466 | 468 | 480 | 495 | 518 | 528 | 527 |
แม่กอย | 428 | 434 | 444 | 452 | 460 | 461 | 457 |
หนองอ้อ | 326 | 335 | 327 | 337 | 336 | 346 | 349 |
*ทบ.กลาง | 18 | 19 | 23 | 15 | 19 | 19 | 23 |
รวม | 3,030 | 3,095 | 3,161 | 3,217 | 3,285 | 3,377 | 3,457 |
ตำบลทุ่งหลวง | |||||||
ป่าจี้ | 452 | 468 | 471 | 481 | 494 | 497 | 487 |
ทุ่งหลวง | 342 | 342 | 355 | 360 | 361 | 370 | 370 |
หม้อบน | 206 | 209 | 212 | 222 | 238 | 244 | 242 |
สันมะนะ | 191 | 198 | 200 | 204 | 199 | 203 | 203 |
หม้อล่าง | 173 | 178 | 182 | 190 | 194 | 194 | 190 |
แม่งัด | 141 | 145 | 140 | 147 | 150 | 159 | 162 |
รวม | 1,505 | 1,540 | 1,560 | 1,604 | 1,636 | 1,667 | 1,654 |
รวมทั้งหมด | 4,535 | 4,635 | 4,721 | 4,821 | 4,921 | 5,044 | 5,111 |
อ้างอิง
- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียงพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 29-30. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เขตตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงพร้าว) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตเทศบาลตำบลเวียงพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๕". ราชกิจจานุเบกษา. 119 (20 ก): 1. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เขตตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.