อักษรฮันกึล
ชุดตัวอักษรเกาหลี 한글 / 조선글 Hangul (Hangeul) / Chosŏn'gŭl | |
---|---|
"Chosongeul" (บน) และ "Hangeul" | |
ชนิด | Featural alphabet
|
ผู้ประดิษฐ์ | พระเจ้าเซจงมหาราช |
ช่วงยุค | ค.ศ. 1443–ปัจจุบัน |
ทิศทาง | อักษรฮันกึลส่วนใหญ่จะเขียนแนวนอน จากซ้ายไปขวา ถ้าเขียนแนวตั้ง เหมือนในอดีต จะเขียนจากบนลงล่าง และส่วนใหญ่จะเขียนจากขวาไปซ้าย แต่บางครั้งจะมีบางอันเขียนจากซ้ายไปขวา |
Print basis |
|
ภาษาพูด |
|
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Hang (286), Hangul (Hangŭl, Hangeul) Jamo (สำหรับ jamo subset) |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Hangul |
ช่วงยูนิโคด |
|
ชุดตัวอักษรเกาหลี รู้จักกันในชื่อ ฮันกึล (เกาหลี: 한글, เสียงอ่านภาษาเกาหลี: /ha(ː)n.ɡɯl/) ในประเทศเกาหลีใต้ และ โชซ็อนกึล (조선글) ในประเทศเกาหลีเหนือ เป็นระบบการเขียนสมัยใหม่สำหรับภาษาเกาหลี[1][2][3] อักษรฮันกึลได้รับการประดิษฐ์ใน ค.ศ. 1443 โดยพระเจ้าเซจงมหาราช ไว้ใช้แทนตัวอักษรฮันจา
ประวัติ
กำเนิดการเขียนในเกาหลี
การเขียนภาษาจีนแพร่หลายเข้าสู่เกาหลีตั้งแต่เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว มีการใช้อย่างกว้างขวางเมื่อจีน เข้าปกครองเกาหลีในช่วง พ.ศ. 435–856 เมื่อประมาณ พ.ศ. 1000[ต้องการอ้างอิง] เริ่มเขียนภาษาเกาหลีด้วยอักษรจีนโบราณ เริ่มพบเมื่อราว พ.ศ. 947[ต้องการอ้างอิง] โดยมีระบบการเขียน 3 ระบบ คือ Hyangchal Gukyeol และ Idu ระบบเหล่านี้ใกล้เคียงกับระบบที่ใช้เขียนภาษาญี่ปุ่น
ระบบ Idu ใช้การผสมกันระหว่างอักษรจีนกับสัญลักษณ์พิเศษเพื่อแสดงการลงท้ายคำกริยาในภาษาเกาหลี และใช้ในเอกสารทางราชการและบันทึกส่วนตัวเป็นเวลาหลายศตวรรษ ระบบ Hyangchal ใช้อักษรจีนแสดงเสียงของภาษาเกาหลี ใช้ในการเขียนบทกวีเป็นหลัก ภาษาเกาหลียืมคำจากภาษาจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้ภาษาเกาหลีสามารถอ่านหรือสื่อความหมายได้ด้วยอักษรจีน มีการประดิษฐ์สัญลักษณ์ขึ้นใหม่ราว 150 ตัว ส่วนใหญ่มีที่ใช้น้อยหรือเป็นชื่อเฉพาะ
การประดิษฐ์อักษรใหม่
อักษรฮันกึล ได้ประดิษฐ์โดยพระเจ้าเซจง (พ.ศ. 1940 - 1993 ครองราชย์ พ.ศ. 1961 - 1993) กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โชซ็อนของเกาหลี แต่นักวิชาการบางคนตั้งข้อสังเกตว่าการประดิษฐ์อักษรเป็นงานที่ซับซ้อน อาจเป็นฝีมือของกลุ่มบัณฑิตสมัยนั้นมากกว่า แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงว่าบัณฑิตในสมัยนั้นต่างคัดค้านการใช้ตัวอักษรใหม่แทนตัวอักษรฮันจา ดังนั้น จึงได้มีการบันทึกว่าอักษรฮันกึลเป็นผลงานของพระเจ้าเซจงแต่เพียงพระองค์เดียว นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าพระญาติของพระเจ้าเซจองได้มีส่วนร่วมอย่างลับ ๆ ในการประดิษฐ์อักษร เพราะประเด็นนี้ในสมัยนั้นเป็นข้อขัดแย้งระหว่างบัณฑิตอย่างมาก
อักษรฮันกึลได้ประดิษฐ์เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 1986 (ค.ศ. 1443) หรือ มกราคม ค.ศ. 1444 และถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 1989 (ค.ศ. 1446) ในเอกสารที่ชื่อว่า "ฮุนมิน จองอึม" (ฮันกึล: 훈민정음, ฮันจา: 訓民正音; Hunmin Jeong-eum) หรือแปลว่า เสียงอักษรที่ถูกต้องเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน ซึ่งในวันที่ 9 ตุลาคม ของทุกปี ทางการเกาหลีใต้ได้ประกาศให้เป็น วันฮันกึล ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ ส่วนในเกาหลีเหนือเป็นวันที่ 15 มกราคม
พระเจ้าเซจงมหาราชทรงให้เหตุผลของการประดิษฐ์ตัวอักษรใหม่ว่า อักษรจีนมีไม่เพียงพอที่จะเขียนคำเกาหลี และอักษรจีนนั้นเขียนยากเรียนยาก ทำให้ชาวบ้านรู้หนังสือน้อย ในสมัยนั้น เฉพาะชายในชนชั้นขุนนาง (ยังบัน) เท่านั้นที่มีสิทธิเรียนและเขียนตัวอักษรฮันจาได้ การประดิษฐ์และใช้ตัวอักษรใหม่แทนตัวอักษรเดิมนี้ถูกต่อต้านอย่างมากจากเหล่าบัณฑิต ซึ่งเห็นว่าตัวอักษรฮันจาเท่านั้นที่เป็นตัวอักษรที่ถูกต้องชอบธรรมที่สุด
กษัตริย์เซจงและนักปราชญ์ของพระองค์นำแนวคิดการประดิษฐ์อักษรใหม่มาจากอักษรมองโกเลียและอักษรพัก-ปา ทิศทางในการเขียนในแนวตั้งจากขวาไปซ้ายได้อิทธิพลจากอักษรจีน หลังการประดิษฐ์อักษรเกาหลีชาวเกาหลีส่วนใหญ่ยังเขียนด้วยอักษรจีน หรืออักษรระบบ Gukyeol หรือ Idu อักษรเกาหลีใช้เฉพาะชนชั้นระดับล่าง เช่นเด็ก ผู้หญิง และผู้ไร้การศึกษา ในช่วง พ.ศ. 2400 – 2500 การผสมผสานระหว่างการเขียนที่ใช้อักษรจีน (ฮันจา) และอักษรฮันกึลเริ่มเป็นที่นิยม ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ฮันจาถูกยกเลิกในเกาหลีเหนือ เว้นแต่การใช้ในตำราเรียนและหนังสือพิเศษบางเล่ม เมื่อราว พ.ศ. 2510 – 2512 จึงมีการฟื้นฟูการใช้ฮันจาอีกครั้งในเกาหลีเหนือ ในเกาหลีใต้มีการใช้ฮันจาตลอดมา วรรณคดีเกาหลีสมัยใหม่ส่วนใหญ่ และการเขียนที่ไม่เป็นทางการใช้ฮันกึลทั้งหมด แต่งานเขียนทางวิชาการและเอกสารราชการใช้ฮันกึลควบคู่กับฮันจา
จาโม
- ดูเพิ่มที่ ตารางอักษรฮันกึล
โดยผิวเผินแล้ว อาจมองอักษรฮันกึลว่าอยู่ในระบบอักษรรูปภาพ แต่จริง ๆ แล้ว อักษรฮันกึลอยู่ในระบบอักษรแทนเสียง (Alphabet) อักษรฮันกึลมีตัวอักษรที่เรียกว่า จาโม (자모, 字母 อักษรแม่) ทั้งหมด 24 ตัว ประกอบด้วย พยัญชนะ 14 ตัว คือ ㄱ ㄴ ㄷ ㄹ ㅁ ㅂ ㅅ ㅇ ㅈ ㅊ ㅋ ㅌ ㅍ และ ㅎ และสระ 10 ตัว คือ ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ ㅡ และ ㅣ
พยัญชนะและสระดังกล่าวเรียกว่า พยัญชนะเดี่ยว และสระเดี่ยว ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เรียกว่าพยัญชนะซ้ำ และสระประสมด้วย
พยัญชนะซ้ำมี 5 ตัว คือ ㄲ ㄸ ㅃ ㅆ และ ㅉ สระประสมมี 11 ตัว คือ ㅐ ㅒ ㅔ ㅖ ㅚ ㅟ ㅘ ㅙ ㅝ ㅞ และ ㅢ
อักษรนี้ได้แนวคิดจากรูปร่างของอวัยวะที่ใช้ออกเสียง พยัญชนะอื่นใช้การเพิ่มเส้นพิเศษลงบนพยัญชนะพื้นฐาน รูปร่างของสระได้แนวคิดจาก คน (เส้นตั้ง) โลก (เส้นนอน) และสวรรค์ (จุด) อักษรฮันกึลสมัยใหม่ จุดจะแสดงด้วยขีดสั้น มีช่องว่างระหว่างคำโดยคำนั้นอาจมีมากกว่า 1 พยางค์ เส้นของพยัญชนะบางตัวเปลี่ยนไปขึ้นกับว่าอยู่ต้น กลาง หรือท้ายพยางค์
การประสมอักษร
อักษรฮันกึล มีส่วนที่คล้ายภาษาไทย คือ พยางค์ในอักษรฮันกึลหนึ่งพยางค์จะเกิดจากการรวมกันของ พยัญชนะต้น และสระ หรือ พยัญชนะต้น, สระ และพยัญชนะสะกด แต่ภาษาเกาหลีไม่มีระดับวรรณยุกต์ การสร้างพยางค์หนึ่งพยางค์สามารถทำโดยการเขียนตำแหน่งพยัญชนะ, สระ และพยัญชนะสะกดแบบใดแบบหนึ่งใน 6 แบบดังนี้
กำหนดให้ สีแดง คือ พยัญชนะต้น, สีน้ำเงิน คือ สระ และ สีเขียว คือ พยัญชนะสะกด
รูปแบบ | คำอธิบาย |
---|---|
- รูปแบบนี้ เป็นรูปแบบที่เขียนพยัญชนะต้นข้างหน้าสระ - และสระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระแนวตั้ง คือ ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅣ ㅐ ㅒ ㅔ และ ㅖ - ตัวอย่าง 이= /อี/, 가 = /คา/, 저 = /ชอ/, 여 = /ยอ/, 나라 = /นา-รา/, 네 = /เน/, 혜 = /ฮเย/ (อ่านควบ) | |
- เป็นรูปแบบที่มีทั้งพยัญชนะต้น,สระ และพยัญชนะสะกด โดยพยัญชนะต้นอยู่ด้านหน้าสระในระดับเดียวกัน และ พยัญชนะสะกดอยู่ล่างสุด - สระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระแนวตั้ง คือ ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅣ ㅐ ㅒ ㅔ และ ㅖ - ตัวอย่าง 안 = /อัน/, 녕 = /นย็อง/ (อ่านควบ), 상 = /ซ็อง/, 점심 = /ช็อม-ชิม/, 밥 = /พับ/ | |
- รูปแบบนี้ เป็นรูปแบบที่พยัญชนะต้นอยู่ข้างบนสระ - และสระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระแนวนอน คือ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ และ ㅡ - ตัวอย่าง 코 = /โค่/, 고 = /โค/, 아니오 = /อา-นี-โอ/, 토요일 = /โท-โย-อิล/, 변호사 = /พย็อน-โฮ-ซา/ | |
- เป็นรูปแบบที่มีทั้งพยัญชนะต้น,สระ และพยัญชนะสะกด โดยเรียงลำดับจากบนลงล่าง - สระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระแนวนอน คือ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ และ ㅡ -ตัวอย่าง 층 = /ชึ่ง/, 물 = /มุล/ | |
- รูปแบบนี้ประกอบด้วยพยัญชนะต้นและสระ - สระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระ ㅚ ㅟ ㅢ ㅘ ㅙ ㅝ และ ㅞ - ตัวอย่าง 화 = /ฮวา/, 의 = /อึย, อี, เอ/ | |
- รูปแบบนี้ประกอบด้วยพยัญชนะต้น,สระ และพยัญชนะสะกด - สระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระ ㅚ ㅟ ㅢ ㅘ ㅙ ㅝ และ ㅞ - ตัวอย่าง 원 = /ว็อน/ |
ดูเพิ่ม
- การถอดอักษรเกาหลีเป็นอักษรโรมัน
- ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์
- ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000
- การถอดอักษรเกาหลีเป็นอักษรโรมันแบบเยล
หมายเหตุ
อ้างอิง
- ↑ "알고 싶은 한글". 국립국어원. National Institute of Korean Language. สืบค้นเมื่อ 4 December 2017.
- ↑ Kim-Renaud 1997, p. 15.
- ↑ Cock, Joe (2016-06-28). "A linguist explains why Korean is the best written language". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2017-12-02.
ข้อมูล
- Chang, Suk-jin (1996). "Scripts and Sounds". Korean. Philadelphia: John Benjamins Publishing Company. ISBN 978-1-55619-728-4. (Volume 4 of the London Oriental and African Language Library).
- "Hangeul Matchumbeop". The Ministry of Education of South Korea. 1988.
- Hannas, W[illia]m C. (1997). Asia's Orthographic Dilemma. University of Hawaiʻi Press. ISBN 978-0-8248-1892-0.
- Kim-Renaud, Young-Key, บ.ก. (1997). The Korean Alphabet: Its History and Structure. University of Hawaiʻi Press. ISBN 978-0-8248-1723-7.
- Lee, Iksop; Ramsey, Samuel Robert (2000). The Korean Language. SUNY Press. ISBN 978-0-7914-9130-0.
- McCune, G[eorge] M.; Reischauer, E[dwin] O. (1939). "The Romanization of the Korean Language: Based upon Its Phonetic Structure" (PDF). Transactions of the Korea Branch of the Royal Asiatic Society. XXIX: 1–55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-12. สืบค้นเมื่อ 2015-08-12.
- Sampson, Geoffrey (1990). Writing Systems. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-1756-4.
- Silva, David J. (2002). "Western attitudes toward the Korean language: An Overview of Late Nineteenth and Early Twentieth-Century Mission Literature" (PDF). Korean Studies. 26 (2): 270–286. doi:10.1353/ks.2004.0013. hdl:10106/11257. S2CID 55677193.
- Sohn, Ho-Min (2001). The Korean Language. Cambridge Language Surveys. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-36943-5.
- Song, Jae Jung (2005). The Korean Language: Structure, Use and Context. Routledge. ISBN 978-0-203-39082-5.
- Taylor, Insup (1980). "The Korean writing system: An alphabet? A syllabary? A logography?". ใน Kolers, P.A.; Wrolstad, M. E.; Bouma, Herman (บ.ก.). Processing of Visual Language. Vol. 2. New York: Plenum Press. ISBN 978-0306405761. OCLC 7099393.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Korean alphabet and pronunciation by Omniglot
- Online Hangul tutorial at Langintro.com
- Hangul table with Audio Slideshow
- Technical information on Hangul and Unicode
- Hangul Sound Keyboard เก็บถาวร 2021-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Kmaru.com
- Learn Hangul at Korean Wiki Project