ซุปใสใส่ไข่
ซุปใสใส่ไข่แบบญี่ปุ่น | |
ชื่ออื่น | ต้านฮวาทัง ซุปไข่หยดน้ำ ซุปอาสาเรน |
---|---|
ประเภท | ซุป |
แหล่งกำเนิด | ประเทศจีน |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออก |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | ร้อน |
ส่วนผสมหลัก | ไข่, ซุปไก่, เกลือ, น้ำตาล, พริกไทย, หอมต้นเดี่ยว, เต้าหู้ |
ซุปใสใส่ไข่, ซุปไข่หยดน้ำ (อังกฤษ: egg drop soup) หรือ ต้านฮวาทัง (จีน: 蛋花湯; พินอิน: dànhuātāng) บ้างเรียก ซุปอาสาเรน เป็นซุปไข่จากประเทศจีน ประกอบด้วยไข่และน้ำซุป ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล พริกไทย ต้นหอมสับละเอียด และเต้าหู้ โดยตีไข่เป็นเส้นบาง ๆ ลอยในน้ำซุปเดือด ซึ่งมักจะทำในช่วงท้ายของการปรุง เพื่อให้ไข่เป็นก้อนหรือเส้นสายสวยงามน่ารับประทาน[1][2]
ความหลากหลาย
ซุปใสใส่ไข่ในสำรับอาหารจีนจะมีรสชาติเบาหรือจืดกว่าซุปไข่ในอาหารตะวันตก มีการใส่เครื่องเคราต่าง ๆ ลงไป เป็นต้นว่า เต้าหู้ ต้นหอมหั่นฝอย ถั่วงอก มะเขือเทศ และข้าวโพด ขึ้นอยู่วัตถุดิบที่มีในภูมิภาคนั้น ๆ
ในสหรัฐมักนำเสนอซุปใสใส่ไข่เป็นหลักในชุดอาหารจีนแบบอเมริกัน[3] เรียกว่า เอ้กฟลาวเวอร์ซุป (อังกฤษ: egg flower soup; แปลว่า ซุปดอกไม้ (ที่ทำจาก) ไข่) ซึ่งเรียกตามคำแปลจากชื่อในภาษาจีน[4] และร้านอาหารบางแห่งจะใส่แป้งข้าวโพดลงไปด้วยเพื่อให้น้ำซุปข้นขึ้น[2]
ในประเทศไทยจะเรียกซุปใสใส่ไข่ว่า ซุปอาสาเรน มักใช้ไข่ไก่ตีพอแตก เทลงเป็นเส้นในน้ำซุปไก่เดือด คนตลอดจนไข่สุก จากนั้นปรุงรสด้วยเกลือ ซีอิ๊วขาว น้ำมันงา ใส่แป้งมันฮ่องกงผสมน้ำเปล่าเล็กน้อยคนเร็ว ๆ จนแป้งสุก แล้วโรยหน้าด้วยต้นหอมซอยและพริกไทย[5] บ้างก็ใส่พริกหวานแดงหั่นเต๋า[6] หรือเห็ดหอมลงไปด้วย[7] ถือเป็นอาหารที่มีเครื่องปรุงไม่มาก เรียบง่าย และทำรับประทานเองได้ไม่ยาก[8][9] สามารถรับประทานเคียงกับข้าวหรือบะหมี่ผัดได้ดี[7] จากหนังสือ ใกล้เบื้องพระยุคลบาทกับลัดดาซุบซิบ (2548) เขียนโดยแถมสิน รัตนพันธุ์ ระบุว่าซุปอาสาเรนเป็นหนึ่งในเครื่องเสวยช่วงเวลากลางวันของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[10]
ระเบียงภาพ
-
ซุปใสใส่ไข่ในสหรัฐ
-
สตรัชชาเตลลา ของประเทศอิตาลี
-
ตูแร็ง ของประเทศฝรั่งเศส
-
อัฟโกเลโมโน ของประเทศกรีซ
-
ไก๊ต่านถ่งโสย ไข่หวานในอาหารกวางตุ้ง
ดูเพิ่ม
- ไข่ตุ๋นญี่ปุ่น – อาหารใกล้เคียงกันในสำรับอาหารญี่ปุ่น
- ไก๊ต่านถ่งโสย – ไข่หวานในสำรับอาหารกวางตุ้ง
- ซุปโยดะยา – ซุปใส่ใส่ไข่ในอาหารพม่า ดัดแปลงจากต้มยำ
อ้างอิง
- ↑ "Chinese Soup Recipes - Egg Flower Soup". www.mysouprecipes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-07.
- ↑ 2.0 2.1 Liv Wan (27 January 2021). "Easy Chinese Egg Drop Soup". The Spruce Eats.
- ↑ Smith, A.F. (2013). Food and Drink in American History: A "Full Course" Encyclopedia [3 Volumes]: A "Full Course" Encyclopedia. EBSCO ebook academic collection. ABC-CLIO. p. 181. ISBN 978-1-61069-233-5. สืบค้นเมื่อ July 12, 2021.
- ↑ Ruhlman, M. (2014). Egg: A Culinary Exploration of the World's Most Versatile Ingredient. Little, Brown. p. 150. ISBN 978-0-316-25407-6. สืบค้นเมื่อ July 12, 2021.
- ↑ "พระกระยาหารโปรดของในหลวงรัชกาลที่ 9". แม่บ้าน. 5 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ชิษณุ เลี้ยงพันธุ์. "สำรับของพ่อ" (PDF). Anywhere Magazine. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 พล ตัณฑเสถียร (22 เมษายน 2558). "ซุปไข่หยดน้ำ". Phol Foodmafia. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คาเฟ เบลอ (24 ตุลาคม 2560). "เมนูพระกระยาหารทรงโปรด รัชกาลที่ 9". กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อัจฉราวดี ศรีสร้อย (13 ตุลาคม 2560). "9 เครื่องเสวยทรงโปรด ของในหลวงรัชกาลที่ 9". Urban Creature. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระกระยาหารทรงโปรด รัชกาลที่ 9". Easy Cooking. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)