โกปี๊เตี่ยม

โกปี๊เตี่ยมแบบเปิดโล่งในสิงคโปร์
โกปี๊เตี่ยมที่มีขายโลบะ
กาแฟดำโบราณเสิร์ฟในมาเลเซียและสิงคโปร์

โกปี๊เตี่ยม หรือ กอปี๊เตี่ยม (จีน: 咖啡店; พินอิน: kāfēi diàn; เป่อ่วยยี: ko-pi-tiàm; แปลตรงตัว: "ร้านกาแฟ") เป็นร้านกาแฟแบบดั้งเดิมที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย[1][2] เป็นสถานที่ขายขายอาหาร โดยเน้นที่อาหารเช้าและเครื่องดื่มจำพวกชาและกาแฟ โดยคำว่า โกปี๊ หรือ กอปี๊ (咖啡) เป็นภาษามลายู/ฮกเกี้ยน ที่หมายถึง "กาแฟ" และ เตี่ยม เป็นภาษาฮากกาและแต้จิ๋ว หมายถึง "ร้านค้า" หรือ "โรงเตี๊ยม" (店)

เฉพาะในสิงคโปร์ที่เดียว มีโกปี๊เตี่ยมตามสถานที่ต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งสถานที่อยู่อาศัย, แหล่งอุตสาหกรรม และธุรกิจภายในประเทศ มากถึง 2,000 แห่ง[3] สำหรับในส่วนประเทศไทย โกปี๊เตี่ยมสามารถพบได้ในสถานที่ทั่วไป แต่ที่มีชื่อเสียงและขึ้นชื่อ คือ ในท้องถิ่นภาคใต้[4]

โดยรายการอาหาร มักประกอบไปด้วยอาหารแบบเรียบง่าย หลากหลายชนิด เช่น ไข่ลวก, ขนมปังปิ้ง, สังขยา, ชาหรือกาแฟผสม และไมโล

ในส่วนของโต๊ะขายกาแฟและเครื่องดื่มทั่วไปมักขายโดยเจ้าของร้าน และอาจรวมไปถึงน้ำอัดลมและเครื่องดื่มอื่น ๆ รวมถึงอาหารเช้า เช่น ขนมปังปิ้งทาหน้าต่าง ๆ, อาหารว่าง หรือแม้แต่ร้านให้เช่าโดยเจ้าของร้านค้าอิสระที่จัดเตรียมอาหารหลากหลายซึ่งมักจะมีอาหารแบบดั้งเดิมจากหลายชาติพันธุ์เพื่อให้ผู้คนจากภูมิหลังที่แตกต่างกันและมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่แตกต่างกันสามารถรับประทานอาหารในสถานที่เดียวกันและแม้กระทั่งรายการอาหารที่ปรากฏบนป้ายรายการภายในร้าน[2]

นอกจากนี้แล้ว โกปี๊เตี่ยม ยังเป็นชื่อของห่วงโซ่ธุรกิจอาหารในสิงคโปร์[5] และเป็นชื่อของร้านกาแฟและร้านอาหารในจังหวัดภูเก็ต ในภาคใต้ของไทยอีกด้วย ในชื่อ "โกปี้เตี่ยม"[6]

รายการอาหาร

สภากาแฟ

คำว่า สภากาแฟ เป็นวลีที่ใช้ในในเชิงความหมายที่เป็นที่รู้กันทั่วไปในกลุ่มคนงานหรือผู้สูงอายุจะดื่มกาแฟและแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ ในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมืองระดับชาติ, การเมืองระดับท้องถิ่น, ละครโทรทัศน์, กีฬาและอาหาร หรือเรื่องราวในชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป[7] [4]

อ้างอิง

  1. Lutfi Rakhmawati (27 February 2012). "Who really owns the word 'kopitiam'?". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 2016-07-30.
  2. 2.0 2.1 Eng, Lai Ah; Leo, Collins, Francis; Brenda, Yeoh, Saw Ai (2012). "The Kopitiam in Singapore: An Evolving Story about Migration and Cultural Diversity". Migration and Diversity in Asian Contexts (ภาษาอังกฤษ) – โดยทาง Project MUSE.
  3. [http://www.straitstimes.com/Prime%2BNews/Story/STIStory_222798.html The Straits Times Interactive
  4. 4.0 4.1 ประชาธิปัตย์ปราศรัย DEMOCRAT LIVE. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ politikpress, 2548. 112 หน้า. หน้า 4-5. ISBN 974-92738-6-9
  5. http://www.kopitiam.biz/our-company/ เก็บถาวร 2018-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Our Company - Kopitiam
  6. "โกปี้เตี่ยม BY วิไล โรงกาแฟ แบบฉบับตำรับจีนฮกเกี้ยน". ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ดอตคอม. 2012-11-15. สืบค้นเมื่อ 2018-01-03.
  7. Menkhoff, Thomas (9 October 2012). "Why are kopitiam tables round?" (PDF). The Straits Times. p. A26.

แหล่งข้อมูลอื่น